สร้างธุรกิจให้ Impact จากแรงบันดาลใจของ Soft Power ด้วยกลยุทธ์ SOFT Strategies

สร้างธุรกิจให้ Impact จากแรงบันดาลใจของ Soft Power ด้วยกลยุทธ์ SOFT Strategies


แม้ในประเทศไทยจะยังไม่ได้มีอะไรที่เป็น Soft power ชัดเจน แต่การทำธุรกิจให้ Impact สามารถเริ่มสร้างได้ด้วยแรงบันดาลใจจาก Soft Power แต่ก่อนจะไปดูว่าแล้วแรงบันดาลใจมีอะไรบ้าง มาทำความเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่า Soft Power กันก่อนดีกว่า

สร้างธุรกิจให้ Impact จากแรงบันดาลใจของ Soft Power ด้วยกลยุทธ์ SOFT Strategies

ความหมายที่แท้จริงของ Soft Power

คือ อิทธิพลทางวัฒนธรรมหนึ่งที่ใช้กับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า “อำนาจละมุน” เป็นสิ่งที่สามารถชักนำให้คนทั่วไปสามารถคล้อยตาม ยอมรับตามความต้องการของผู้สร้างอำนาจ โดยวิธีนี้ต้องไม่มีการคุกคามหรือแลกเปลี่ยนใดๆ


แรงบันดาลใจสร้างธุรกิจให้มีพลังแบบ Soft Power ด้วยกลยุทธ์ซอฟต์ (SOFT Strategies)

สำหรับกลยุทธ์ซอฟต์ (SOFT Strategies) เป็นกลยุทธ์ที่ทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้ขึ้นคิดค้นขึ้นมาเพื่อจะช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการในประเทศไทยนำไปใช้กับธุรกิจให้สามารถเข้าถึง เชื่อมต่อกับผู้บริโภคมากกว่าเดิม ด้วย 4 มิติสำคัญต่อไปนี้


การแทรกซึม (Absorb)

เข้าไปอยู่ใกล้หรืออยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคให้มากที่สุด และแนบเนียนที่สุด รู้ตัวอีกทีลูกค้าก็มีสินค้าเต็มบ้าน ตัวอย่างเช่นแบรนด์ Oatside นมจากข้าวโอ๊ตที่ได้ค่อยๆ แทรกซึมเข้ามาในชีวิตประจำวันของหลายๆ คนจนวางขายไปทั่วเอเชีย


การสร้างจุดเด่น (Extraordinary)

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำธุรกิจให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ ต้องมีความโดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งมากพอที่จะดึงความสนใจมากขึ้น เริ่มจากการทำสิ่งที่ SME มีอยู่แล้วให้พิเศษขึ้น จนผู้บริโภคเกิดการจดจำได้ผ่าน Character style ของแบรนด์เอง ตัวอย่างเช่นแบรนด์ Carnival มัลติแบรนด์สโตร์สัญชาติไทยที่ไม่ว่าจะนำโลโก้ไป X กับอะไรก็ทำให้มูลค่าสิ่งนั้นดูเพิ่มขึ้น เพราะ Character เรียบแต่มีความเท่นั่นเอง


การจับกระแส (Fast)

เทรนด์อะไรมา ต้องคว้ามาเล่นให้ไว ถ้าอยากเชื่อมต่อกับผู้บริโภคได้ไว ตัวอย่างเช่น Foodland ที่จับกระแสของ Jackson Wang ที่พูดถึงเมนูอาหารที่เขาโปรดปราน แล้วต่อมา Foodland ก็จัดโปรโมชั่นเซตเมนูนั้นในราคาเพียง 99 บาททันที ซึ่งก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก


การทำอย่างสม่ำเสมอ (Consistency)

แน่นอนว่ากรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียวฉันใด การพยายามสร้างธุรกิจ SME ให้โตก็ไม่ได้ใช้เวลาแค่ชั่วข้ามคืนเท่านั้น ต่อให้จะสามารถสร้างจุดเด่นได้ดี จับกระแสได้ทัน แต่ก็ต้องอาศัยการทำอย่างต่อเนื่องด้วย ที่สำคัญการสื่อสารที่ควรจะสร้าง Charactor ให้คนจนจำได้อย่างสม่ำเสมอ ทุกแพลตฟอร์ม ยกตัวอย่างแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ชัดเจน และยังคงทำอย่างต่อเนื่องคือเพจ KFC ที่สร้างการโต้ตอบบนเพจกับผู้บริโภคได้ดีทั้งการให้ข้อมูลโปรโมชั่น ตอบคำถาม และการเล่นมุกขบขันอย่างต่อเนื่อง ทำให้เพจ KFC ไม่ใช่แค่ร้านอาหารแต่เป็น Community สำคัญที่น่าจับตามอง



จะเห็นว่าในปัจจุบันการทำธุรกิจไม่ว่าจะระดับไหน สิ่งสำคัญอาจไม่ใช่การมองแค่กำไรหรือตัวเลขยอดขายเท่านั้น แต่ยังคงต้องสนใจเรื่องของการส่งต่อพลังในสังคม สร้างตัวตนให้เป็นที่รู้จัก รวมถึงดูว่าผู้บริโภคมองธุรกิจ SME ของเราแล้วนึกถึงอะไร ซึ่งต้องใช้การ Connect เข้าหาผู้คนให้มากที่สุด โดยใช้กลยุทธ์ SOFT Strategies เข้ามาช่วย

.

Krungsri SME เคียงข้างทุกการก้าวผ่านให้ทุกอย่างเป็นไปได้

.

#KrungsriBusinessEmpowerment

#KrungsriBusiness

#KrungsriSME

ความรู้และกิจกรรมทั้งหมด