แนะนำให้ใส่คีย์เวิร์ดเพื่อกดค้นหา www.krungsribusinesslink.com แนะนำให้
ใส่คีย์เวิร์ดเพื่อกดค้นหา
'+n.text+"<\/span>")}$(document).ready(function(){$("#requestCulture_RequestCulture_UICulture_Name").select2dropdown({minimumResultsForSearch:Infinity,dropdownCssClass:"language-dropdown",templateResult:formatState});$("#requestCulture_RequestCulture_UICulture_Name").val("th-TH").trigger("change.select2");$("#requestCulture_RequestCulture_UICulture_Name").change(function(){this.form.submit();$(".b2b-loader").addClass("appear");setTimeout(function(){$(".b2b-loader").removeClass("appear")},3e3)})})
ปัจจุบันพนักงานหลายคนเริ่มมองหางานใหม่ควบคู่ไปกับการทำงานปัจจุบัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาการลาออกมากขึ้น หากเขาได้เจองานที่ใช่กว่า เมื่อพูดถึงเทรนด์นี้ผู้ประกอบการ SME หลาย ๆ คนอาจกังวลใจ แต่รู้หรือไม่ว่าเรื่องร้าย ๆ นี้อาจกลายเป็นโอกาสที่ SME สามารถพลิกสถานการณ์ได้
ก่อนที่เราจะไปดูแนวทางหาโอกาสจากวิกฤตินี้ อยากให้มาเข้าใจความหมายของ Career Cushioning พร้อมกันก่อน โดย Career Cushioning สรุปให้เข้าใจง่ายเลยก็คือ เทรนด์ที่คนทำงานนั้นหว่าน Resume หรือมองหางานสำรอง มองหางานที่ 2 ไว้ในขณะที่ยังทำงานหลักอยู่ สิ่งนี้สามารถมองได้ใน 2 แง่มุม แง่มุมแรก สิ่งที่ลูกจ้างทำนั่นเป็นการวางแผนรับมือในชีวิตของจนเอง แต่อีกแง่มุมหลายคนอาจมองว่านี่เป็นการหักหลังหรือทรยศองค์กร
ซึ่งไม่ว่าจะมองในแง่มุมไหนก็ตาม ในมุมมองของผู้ประกอบการเองจะทำอย่างไรเมื่อเทรนด์นี้เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าผู้นำและ SME จะได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ เพราะการจะหาคนที่เก่งและทำงานเป็นมาทำงานด้วยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย แต่ในวิกฤติที่น่ากังวลใจก็เป็นโอกาสที่จะได้พัฒนาสิ่งใหม่ ๆ เหมือนกัน
องค์กรควรมีกฎระเบียบที่ชัดเจน เป็นธรรม และสื่อสารให้พนักงานทุกคนเข้าใจ เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งและลดความเสี่ยงที่จะสูญเสียพนักงานที่มีความสามารถ
แน่นอนว่าไม่อยากมีใครทำงานแบบจับฉ่าย เพราะฉะนั้น Scope of work ต้องชัดเจนและเข้าใจตรงกันตั้งแต่แรก
ทุกคนทำงานเพื่อหวังความก้าวหน้า อยากให้คนทำงานอยู่ด้วยกันไปนาน ๆ ต้องทำ Career Path ชัดเจนและเป็นไปได้จริงด้วย
หาสาเหตุที่แท้จริงว่าเหตุผลอะไรทำให้คนทำงานลาออก และยังมีส่วนไหนที่ SME จะพัฒนาได้บ้าง
เมื่อเจอข้อผิดพลาด ได้โอกาสหาวิธีแก้ปัญหามาปิดช่องโหว่ วางระบบบริหารจัดการบุคคลอย่างจริงจัง ว่าจริง ๆ แล้ว SME ควรมีพนักงานจำนวนเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม
สุดท้ายปฏิเสธไม่ได้ว่าชีวิตใครเขาก็มีโอกาสไปต่อในทางที่เลือก และในมุมขององค์กรเองก็ได้โอกาสที่จะสรรหาพนักงานที่เก่งและใช่จริง ๆ เข้ามา
สถานการณ์ Career Cushioning ที่อาจสร้างวิกฤตให้กับ SME อาจไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเสมอไป ถ้ามีแผนป้องกันที่ดี และพร้อมปรับแนวคิดเป็นก็พลิกเป็นโอกาสที่ SME จะได้ปรับตัวต่อไปได้ ไม่ใช่เรื่องยาก แถมยังเป็นโอกาสลด Turnover rate ในอนาคตได้อีกด้วย
#KrungsriBusiness
#KrungsriSME
Share